เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยโครงงาน "มหัศจรรย์ลำน้ำยาว"

เป้าหมาย (Understand Goal):

เข้าใจและเห็นคุณค่า เห็นความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของน้ำ (ลำน้ำยาว) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ตลอดจนสามารถคิดค้น สร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำในชุมชนของตนเอง เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สังคมอย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่า

week6



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนมีวิธีการในการผลิตน้ำสะอาดจากแหล่งน้ำใช้/น้ำทิ้ง ที่ประหยัดต้นทุนและมีคุณภาพ
Week
input
Process
Out put
Outcome

โจทย์ 
 คุณค่าและประโยชน์ของนำ้สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์และดูแล
ลำนำ้ยาว ร่วมกับชุมชนบ้านนาหนุน 2,3


คำถาม: 
- นักเรียนจะให้ชุมชนเห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์ลำนำ้ยาวได้อย่างไร 

เครื่องมือคิด : 
- Show and Share เกี่ยวกับน้ำและความสัมพันธ์ของนำ้กับสิ่งแวดล้อม และนำเสนองานแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลลำนำ้ยาวร่วมกับชุมชน
บ้านนาหนุน 2,3

 -Brian storm หาวิธีเผยแพร่ข้อมูลคุณค่าและการอนุรักษ์นำ้
- ชักเย่อความคิด เกี่ยวกับวิธีการใดที่จะเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและการอนุรักษ์ลำนำ้ยาว
- Wall Thinking
เกี่ยวกับวิธีการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและการอนุรักษ์ลำนำ้ยาว และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม คน พืช  สัตว์ น้ำกับสิ่งแวดล้อม คน  พืช  สัตว์

นักเรียน: ความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล ความสนใจต่อกิจกรรมและงานที่รับมอบหมาย 
 ครู: ผู้กระตุ้นและอำนวยการเรียนรู้ 
 ชุมชน(ผู้ใหญ่บ้าน)และนักเรียนโรงเรียนบ้าน
นาหนุนสอง:
 ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไข 

บรรยากาศ/สื่อ :
- ป่าโคกหีบ
- ชุมชนบ้านนาหนุน 2 หมูที่ 2 บ้านนาหนุน 3 หมู่ที่ 7
- ครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง
 - บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษชาร์ต / กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4
- สีเมจิก 
ชง:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม "นักเรียนจะให้ชุมชนเข้าใจความสัมพันธ์ของนำ้กับสิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์ลำนำ้ยาวได้อย่างไร"

เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น กลุ่มๆ แต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของนำ้กับสิ่งแวดล้อมและการพึ่งพากันของนำ้กับคน
- แบ่งนักเรียนออกเป็น
กลุ่มย่อยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนซ้อมนำเสนอโครงการเพื่อแก้ปัญหาการทิ้งขยะและการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับ
ลำนำ้ยาวร่วมกับชุมชน และโรงเรียนบ้านนาหนุนสอง
- แสดงละครลำนำ้ยาว ให้พี่ๆ น้องๆ ในโรงเรียนดูร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนแสดงจริง โรงเรียนบ้านนาหนุนสองในวันศุกร์
- แต่ละกลุ่มนำเสนอวิธีการแนวทางการเผยแพร่ และกระบวนการที่จะนำความรู้ลงสู่ชุมชน ครูและเพื่อนเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องการประสานงานกับชุมชนแล่ะชวงเวลาที่จะนำเสนอ
- ครู ผู้นำชุมชน(ผู้ใหญ่บ้าน) นักเรียน และผู้ปกครองวิเคราะห์สรุปร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาลำนำ้ยาว

ใช้:

- เขียนบันทึกข้อความเพื่อขอความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับทางโรงเรียนและชุมชน
- แสดงละคร / ขับร้องเพลง เกี่ยวกับลำนำ้ยาว
-  ชาร์ตความรู้  / Flow chart เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของนำ้กับสิ่งแวดล้อม  คน  พืช  สัตว์
- นิทาน Pop-Up ความสัมพันธ์ของนำ้กับสิ่งแวดล้อม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน

- แสดงละคร / ขับร้องเพลง เกี่ยวกับลำนำ้ยาว
-  ชาร์ตความรู้  / Flow chart เกี่ยวกับวัฏจักรของนำ้
- นิทาน Pop-Up เล่มใหญ่
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- แสดงละครให้พี่ๆ น้องๆ ที่โรงเรียนบ้าน
นาหนุนสอง ชม

- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาลำนำ้ยาว การแสดงละคร และการขับร้องเพลงเกี่ยวกับนำ้
- สรุปประเด็น วิธีการแก้ปัญหาที่จะทำร่วมกับชุมชนที่ได้จากการพูดคุยกับผู้นำชุมชน(ผู้ใหญ่บ้าน)
- ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- กระบวนการเตรียมการและการประสานงานกับผู้อื่น(นอกโรงเรียน)
- ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของนำ้กับสิ่งแวดล้อม คน  พืช  สัตว์
- ผลกระทบที่เกิดจากการบุกรุกทำลายป่าต้นนำ้ และความไม่เข้าใจคุณค่าของป่าต้นนำ้

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์จากปัญหาที่พบและหาแนวทางแก้ไข เฉพาะหน้าระหว่างนำเสนอผลงาน(ละคร)
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การแสดละคร การนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการทำงานภายในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาลำนำ้ยาว
- ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะ

คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงบทละคร / การขับร้องพลงและสรุปองค์ความรู้
- สามารถวิเคราะห์/สังเคราะห์ และเรียบเรียงข้อมูล เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของป่าต้นนำ้กับสิ่งแวดล้อม คน  พืช  สัตว์
- มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน มีความรับผิดชอบ และพยายามในการทำงาน การซ้อมละครและการร่วมกิจกรรม
- รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยปราศจากอคติ ระหว่างการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาและการทำนิทาน
- กล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่ที่แตกต่าง จากแนวทางหรือวิธีการเดิมๆ ที่เคยทำ เช่น รูปแบบนิทานที่แปลกใหม่ รูปเล่มนิทานที่ไม่เหมือนผู้อื่น เป็นต้น


กิจกรรมหลังการเรียนรู้





ภาพกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น