Week
|
input
|
Process
|
Out put
|
Outcome
|
โจทย์ เผยแพร่ข้อมูล ลำนำ้ยาว ให้ชุมชนเห็นคุณค่า และช่วยกันดูแลลำนำ้ยาวผ่าน Social Network คำถาม: - นักเรียนจะนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของลำนำ้ยาวให้คนหันมาหวงแหน อนุรักษ์นำ้ ผ่านสื่อ Social Network ได้อย่างไร เครื่องมือคิด : - Blackboard Share เกี่ยวกับการรวมรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมด จากนำ้ เพื่อรวบรวม เผยแพร่ - Flow chart ขั้นตอนการลำดับภาพหรือคลิปมาทำเป็นสารคดีเผยแพร่ - การสัมภาษณ์ สอบถามความรู้สึกถึงการบุกรุกพื้นที่ลุ่มนำ้ยาว และอยากเห็นลำนำ้ยาวเป็นอย่างไรในอนาคต - Show and Share นำเสนองานขั้นตอนการลำดับภาพหรือคลิปมาทำเป็นสารคดีเผยแพร่ - ชักเย่อความคิด การเผยแพร่ข้อมูลลำนำ้ยาวผ่านภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว อย่างไหนดีกว่ากัน เพราะอะไร - Wall Thinking เกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอนการลำดับภาพหรือคลิปมาทำเป็นสารคดีเผยแพร่ นักเรียน: ความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล ความสนใจติอกิจกรรมและงานที่รับมอบหมาย ครู: ผู้กระตุ้นและอำนวยการเรียนรู้ ชุมชน(ผู้ใหญ่บ้าน)และครู นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหนุนสอง: ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไข บรรยากาศ/สื่อ : - ลำนำ้ายาว - กล้องถ่ายทำสารคดี / ภาพนิ่ง - คอมพิวเตอร์ เพื่อตัดต่อทำสารคดี - คนในชุมชนบ้านนาหนุน 2,3 - ผู้นำชุมชน ต.ผาตอ อ.ท่าวังผา จ.น่าน - บรรยากาศในห้องเรียน - กระดาษชาร์ต / กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4 - สีเมจิก | ชง: - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม "นักเรียนจะนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของลำนำ้ยาวให้คนหันมาหวงแหนอนุรักษ์ลำนำ้ยาวผ่านสื่อ Social Network ได้อย่างไร เชื่อม: - ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างคลิปVDO การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ลำนำ้ยาว สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ที่สนใจ - นักเรียนร่วมกันทำโปสเตอร์รณรงค์ให้คนอนุรักษ์ลำนำ้ยาว - แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนบทสัมภาษณ์และเลือกหัวข้อที่จะสัมภาษณ์คนในชุมชนเกี่ยวกับข้อมูลของพื้นที่ลำนำ้ยาวในอนาคต - ครูและนักเรียนลงชุมชนบ้านนาหนุน 2,3 สัมภาษณ์คนในชุมชนเกี่ยวกับลำนำ้ยาว สิ่งที่ได้จากป่าและอยากเห็นลำนำ้ยาวในอนาคตเป็นอย่างไร - ระดมความคิด จัดเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ลำดับเป็นขั้นตอนเพื่อเตรียมมาจัดทำเป็นสารคดีลำนำ้ยาว - แต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาทำให้เป็นสารคดีสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที (บทสัมภาษณ์) - ชักเย่อความคิดลำนำ้ยาวในอนาคต ใช้: - นักเรียนทุกคนทำโปสเตอร์รณรงค์ให้คนอนุรักษ์ลำนำ้ยาว - จัดกระทำข้อมูลจากการสัมภาษณ์เรียบเรียงตัดต่อเป็นคลิปVDO สารคดีอนุรักษ์ลำนำ้ยาวในอนาคต - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ - เตรียมการนำเสนอคลิปสารคดีอนุรักษ์ลำนำ้ยาว ให้กับครูและคน ในชุมชนบ้านนาหนุน 2,3 | ชิ้นงาน - โปสเตอร์รณรงค์ให้เห็นคุณค่าและคนอนุรักษ์ลำนำ้ยาว - คลิปสารคดี ลำนำ้ยาวในอนาคต - การสร้างเครือข่าย จากการประสานงานของเด็กๆ นักเรียน - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ ภาระงาน - พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำสารคดี - สัมภาษณ์คนในชุมชนบ้านนาหนุน 2,3 - ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน | ความรู้ - วิธีการเขียน Story Broad เทคนิคการถ่ายภาพ มุมกล้อง มุมภาพ - การทำสารคดี ขั้นตอนการทำการตัดต่อคลิปVDO เช่น ความคมชัดของภาพ ลำดับการใส่เสียง รอยต่อเชื่อมของคลิป/ภาพ ฯลฯ - แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชน และการประสานงานระหว่างนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาหนุนสองและ - วิธีการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่าน Social Network ทักษะ - คิดสร้างสรรค์จากนำคลิป/ภาพนิ่งมาถ่ายทอดผ่านสื่อ Social Network - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การสัมภาษณ์คนในชุมชน การนำเสนองาน - ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง - ทักษะการทำงานภายในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อหาแนวทางการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับป่าผ่านสื่อ Social Network คุณลักษณะ - เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม - มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนำ้ผ่านสื่อ Social Network - สามารถวิเคราะห์/สังเคราะห์ และเรียบเรียงข้อมูล จากการดูตัวอย่างคลิปVDO การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์นำ้ - มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน มีความรับผิดชอบ อดทนและเอาใจใส่ในการทำงาน การสัมภาษณ์คนในชุมชน และการตัดต่อคลิปVDO - รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนโดยปราศจากอคติ ระหว่างการเสนอแนะจากการดูสารคดี - กล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่ที่แตกต่าง จากแนวทางหรือวิธีการเดิมๆ ที่เคยทำ |
บูรณาการจัดการเรียนรู้ PBL (Problem based Learning) โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง จังหวัดน่าน
เป้าหมายหลัก
ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยโครงงาน "มหัศจรรย์ลำน้ำยาว"
เป้าหมาย (Understand Goal):
เข้าใจและเห็นคุณค่า เห็นความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของน้ำ (ลำน้ำยาว) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ตลอดจนสามารถคิดค้น สร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำในชุมชนของตนเอง เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สังคมอย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่า
week8
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนตระหนักถึงโทษและประโยชน์ของเครื่องดื่มที่จำหน่ายในท้องตลาดและมีวิธีการตรวจสอบคุณภาพอย่างง่ายของเครื่อมดื่มชนิดต่างๆได้
บันทึกหลังการเรียนรู้
ภาพกิจกรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น